วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554

หลักการทำงานและการแสดงผลของภาพกราฟิก

หลักการของกราฟิกแบบ Raster
                หลักการทำงานของภาพกราฟิกแบบ Raster หรือแบบ Bitmat เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หลากหลายสี ซึ่งจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ นี้ เรียกว่า พิกเซล ” (Pixel) ในการสร้างภาพกราฟิกแบบ Raster จะต้องกำหนดจำนวนของพิกซลให้กับภาพที่ต้องการสร้าง ถ้าจำนวนพิกเซลน้อย ภาพจะไม่คมชัดเท่าจำนวนพิกเซลมาก ดังนั้นจึงควรกำหนดพิกเซลให้เหมาะกับงานที่สร้าง                                                
                
                          ตัวอย่างภาพกราฟิกแบบ Raster แบบปกติ             ตัวอย่างภาพกราฟิกแบบ Raster เมื่อทำการขยาย

หลักการของกราฟิกแบบ Vector
                 กราฟิกแบบ Vector หรือ Object-Oriented Graphics หรือเรียกว่า เป็นรูปภาพ Resolution-Independent เป็นภาพที่อ้างอิงตามความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณซึ่งมีทิศทาง การลากเส้นไปในแนวต่างๆ จึงเรียกประเภท Vector Graphic หรือ Object Oriented               
ในระบบวินโดวส์ ไฟล์รูปภาพประเภทนี้ คือ พวกที่มีนามสกุลเป็น .EPS , .WMF, .CDR, .AI , .CGM, .DRW, .PLT เป็นต้น และโปรแกรมที่ใช้สร้างคือ โปรแกรมประเภทวาดรูป (Drawing Program) เช่น CorelDraw หรือ AutoCAD 

         
                      ตัวอย่างภาพกราฟิกแบบ Vector แบบปกติ            ตัวอย่างภาพกราฟิกแบบ Vector เมื่อทำการขยาย
ความแตกต่างของกราฟิกแบบ  2  มิติ
ภาพกราฟิก 2 มิติแบบ Raster  และแบบ  Vector  มีความแตกต่างกันดังนี้
ภาพกราฟิกแบบ  Raster
ภาพกราฟิกแบบ  Vector
1.      ภาพกราฟิกเกิดจากจุดสีเหลี่ยมเล็กๆหลากหลายสี  (Pixels)  มาเรียงต่อกันจนกลายเป็นรูปภาพ
1.    ภาพเกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทาง
คณิตศาสตร์หรือการคำนวณ โดยองค์ประกอบของภาพมีอิสระต่อกัน
2.      การขยายภาพกราฟิกให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้ความละเอียดของภาพลดลง  ทำให้มองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ
2.   การขยายภาพกราฟิกให้มีขนาดใหญ่ขึ้น              ภาพยังคงความละเอียดคมชัดเหมือนเดิม
3.      การแต่งตั้งและแก้ไขภาพ  สามารถทำได้
 ง่ายและสวยงาม  เช่นการ  Retouching ภาพ
 3.   เหมาะกับงานออกแบบต่างๆ เช่น  งาน 
สถาปัตย์  ออกแบบโลโก
4.    การประมวลผลภาพสามารถทำได้รวดเร็ว
5.      การประมวลผลภาพใช้เวลานาน  เนื่องจาก
คำสั่งในการทำงานมาก


วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บรรณานุกรม

การประยุกต์ใช้งานกราฟิก.”  [ ออนไลน์ ].  เข้าถึงได้จาก http://www.thaigoodview.com/node/19303#p4, 2554.
กราฟิกคอมพิวเตอร์.”  [ ออนไลน์ ].  เข้าถึงได้จาก http://web1.myfri3nd.com/blog/2008/10/23/entry-4,  
                     2554.
ความสำคัญของกราฟิก. ”  [ ออนไลน์ ].  เข้าถึงได้จาก  http://www.thaigoodview.com/node/19303, 2554.
ความหมายของกราฟิก.”  [ ออนไลน์ ].  เข้าถึงได้จาก http://intreelek2.blogspot.com/2007/09/     
               blog-post_1543.html, 2554.
ชนิดและรูปแบบไฟล์กราฟิก.”  [ ออนไลน์ ].  เข้าถึงได้จาก http://www.illustratorwbi.com/webpage/u1-4-         
                      2.html, 2554.
บทบาทของกราฟิกในปัจจุบัน.”  [ ออนไลน์ ].  เข้าถึงได้จาก http://www.rayongwit.ac.th/graphic
                    web/page/unit1-2.html, 2554.
 “ ประเภทของภาพกราฟิก.”  [ ออนไลน์ ].  เข้าถึงได้จาก http://www.oknation.net/blog/print.
                     php?id=332061, 2554.
ประวัติความเป็นมาของกราฟิก.”  [ ออนไลน์ ].  เข้าถึงได้จาก http://www.learners.in.th/blogs/posts/95290,  
                     2554.
สีและแสงที่ใช้ในงานกราฟิก.”  [ ออนไลน์ ].  เข้าถึงได้จาก http://krumaew.wordpress.com, 2554.
หลักการทำงานและการแสดงผลของภาพกราฟิก.”  [ ออนไลน์ ].  เข้าถึงได้จาก 
               http://lvcl.lampangvc.ac.th/KM/external_links.php?links=5, 2554.

การประยุกต์ใช้งานกราฟิก

                             การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์กราฟิกสามารถจำแนกตามลักษณะของงาน ดังนี้

1. ) การออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิกในงานออกแบบ : หรือที่เรียกว่า CAD (Computer Aided Design) ผู้ออกแบบสามารถนำสัญลักษณ์ที่โปรแกรมมีไว้มาประกอบกัน เพื่อแก้ไขได้สะดวก  ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

2.) การแสดงผลข้อมูล : การใช้โปรแกรมเพื่อสร้างภาพ ทำให้การสื่อสารดีกว่าการใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขหรือข้อความ เช่น ภาพถ่ายทางการแพทย์ แสดงให้เห็นโครงสร้างภายในร่างกายของผู้ป่วย ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้อย่างถูกต้องแม่นยำ   เป็นต้น  

3.) การจำลองการทำงาน :  การนำคอมพิวเตอร์มาจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความชำนาญก่อนปฏิบัติกับอุปกรณ์จริง เช่น การจำลองการทำงานในวงการ ให้ดูสมจริง เป็นต้น
 

                  4.) การออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ : ระบบปฏิบัติการซอฟต์แวร์ ต่าง ๆ ต้องใช้ภาพกราฟิกในการสั่งงาน เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ


ชนิดและรูปแบบไฟล์กราฟิก

*                            นิดและรูปแบบไฟล์กราฟิก มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ

1.)   ภาพราสเตอร์ (Raster ) : หรือเรียกว่าภาพแบบ Bitmap ก็ได้ เป็นภาพที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ นี้ว่า พิกเซล (pixels) ”                 
        ตัวอย่าง
                               -  ภาพใช้งานทั่ว ๆไป  ให้กำหนดพิกเซล  ประมาณ 100-150 Pixel
                               -  ภาพที่ใช้บนเว็บไซต์  ให้กำหนดพิกเซล  ประมาณ 72  Pixel
                               -  ถ้าเป็นภาพแบบงานพิมพ์ เช่น นิตยสาร โปสเตอร์ขนาดใหญ่
                                   จะกำหนดพิกเซลประมาณ 300-350 Pixel
                        ข้อดีของภาพชนิด Raster
                              -  สามารถแก้ไขปรับแต่งได้
                             -  ตกแต่งภาพได้ง่ายและสวยงาม
       นามสกุลที่ใช้เก็บภาพแบบ Raster
นามสกุลที่ใช้เก็บ
ลักษณะงาน
โปรแกรมที่ใช้สร้าง
.JPG, JPEG, JPE,.GIF
ใช้สำหรับรูปภาพทั่วไป งานเว็บเพจ และงานที่มีความจำกัดด้านพื้นที่หน่วยความจำ
โปรแกรม Photoshop, PaintShopPro , Illustrator
.TIFF , TIF
เหมาะสำหรับงานด้านนิตยสาร เพราะมีความละเอียดของภาพสูง
.BMP , DIB
ไฟล์มาตรฐานของระบบปฏิบัติการ
วินโดว์
โปรแกรม PaintShopPro , Illustrator

2.)     ภาพแบบ Vector เป็นภาพที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ
ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพไม่ลดลง แฟ้มภาพมีขนาดเล็กกว่าภาพแบบ Raster
ข้อดีของภาพแบบ Vector
          -  นิยมนำไปใช้ในด้านสถาปัตย์ตกแต่งภายในและการออกแบบต่าง ๆ
              เช่น การออกแบบอาคาร การออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก้ การสร้างการ์ตูน
                       โปรแกรมที่นิยมนำมาสร้างภาพแบบ Vector
          -  โปรแกรม  Illustrator
          -  CorelDraw
          -  AutoCAD
          -  3Ds max  ฯลฯ
       
นามสกุลที่ใช้เก็บภาพแบบ Vector
นามสกุลที่ใช้เก็บ
ลักษณะงาน
โปรแกรมที่ใช้สร้าง
.AI,.EPS
ใช้สำหรับงานที่ต้องการความละเอียดของภาพมาก เช่น การสร้างการ์ตูน การสร้างโลโก้ เป็นต้น
โปรแกรม  Illustrator
.WMF

ไฟล์มาตรฐานของระบบปฏิบัติการ
วินโดว์
โปรแกรม CorelDraw












สีและแสงที่ใช้ในงานกราฟิก

*                         สีและแสงที่ใช้ในงานกราฟิกมีดังนี้
            1.RGB : เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี 3 สี คือ สีแดง สีเขียวและสีน้ำเงิน เมื่อนำมาผสมกันทำให้เกิดสีได้มากถึง 16.7 ล้านสี ซึ่งใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นปกติ ถ้าสีมีความเข้มมากเมื่อนำมาผสมกันจะทำให้เกิดเป็นสีขาว จึงเรียกระบบสีนี้ว่าแบบ Additive หรือการผสมสีแบบบวก
 2.CMYKประกอบด้วยสีหลัก 4 สีคือ สีฟ้า , สีม่วงแดง , สีเหลือง และสีดำ เมื่อนำมาผสมกันจะเกิดสีเป็นสีดำแต่จะไม่ดำสนิทเนื่องจากหมึกพิมพ์มีความไม่บริสุทธิ์ จึงเป็นการผสมสีแบบลด หลักการเกิดสีของระบบนี้ คือ หมึกสีหนึ่งจะดูดกลืนแสงจากสีหนึ่งและสะท้อนกลับออกมาเป็นสีต่าง ๆ

 3.HSB:  เป็นระบบสีแบบการมองเห็นของสายตามนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
-> Hue คือ สีต่าง ๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุแล้วเข้าสู่สายตาของเรา
-> Saturation คือ ความสดของสี โดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสดมาก
-> Brightness คือ ระดับความสว่างขอสี โดยค่าความสว่างของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100
4. LAB: เป็นระบบสีที่ไม่ขึ้นกับอุปกรณ์ใด ๆ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
                  -> L  เป็นการกำหนดความสว่างซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 จะกลายเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 
                        จะเป็นสีขาว
                  -> A  เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีเขียวไปสีแดง
                  -> B  เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ำเงินไปเหลือง

ประเภทของภาพกราฟิก

ประเภทของภาพกราฟิก มี 2 ประเภท คือ

1.)    ภาพกราฟิกแบบ 2 มิติ เป็นภาพที่เราพบเห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพถ่าย  รูปวาด ภาพลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ รวมถึงการ์ตูนต่างๆ ในโทรทัศน์ เช่น การ์ตูนเรื่อง ชินจัง โดราเอมอน เป็นต้น
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhu12iy1StkTFhBBNvuVqh2cK3d9kN68-Pn0vg_nMNwDy3XuTftuOZ9R0yg1RghBJ2ez5sDBR-fEiZP1jboOBN3viDLmrONOPFswoz2KzmAzYlh4PyFBQu8SXQW8PxMDqvk9Wum_gvAh5CF/s1600/tom-jerry-pic.jpg


2.)         ภาพกราฟิกแบบ 3 มิติ เป็นภาพกราฟิกที่ใช้โปรแกรมสร้างภาพ โดยเฉพาะ เช่น โปรแกรม 3Ds max , โปรแกรม Maya เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ได้ภาพมีสีและแสงเงาเหมือนจริง เหมาะกับงานด้านสถาปัตย์และการออกแบบต่าง ๆ รวมถึงการสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนหรือโฆษณาสินค้าต่าง ๆ เช่น  การ์ตูนเรื่อง Nemo The Bug และการ์ตูนปังปอนด์แอนิเมชัน เป็นต้น





ความหมายเกี่ยวกับกราฟิก

 ความหมายของกราฟิก
กราฟิก (Graphic)   มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ
1. Graphikos  หมายถึง การเขียนภาพด้วยสีและเขียนภาพขาวดำ
                2. Graphein  หมายถึง ทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น
เมื่อรวมทั้งคำ Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกันวัสดุกราฟิกจะหมายถึงวัสดุใด ๆซึ่งแสดงความจริง แสดง                       
ความคิดอย่างชัดเจน ต่อมามีผู้ให้ความหมายของคำว่า กราฟิก” ไว้หลายประการซึ่งสรุปได้ดังนี้
                    กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ    
แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ
           
                                         แบบ Graphikos                                                          แบบ Graphein 
  ความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิก

                คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้ตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการและน่าสนใจยิ่งขึ้น ด้วยกราฟ แผนภูมิ แผนภาพ เป็นต้น


บทบาทเเละความสำคัญของกราฟิก

           ปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีวิวัฒนาการไปค่อนข้างรวดเร็ว การใช้ระบบการติดต่อสื่อสารที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น มีการกระจายของข้อมูลไปอย่างรวดเร็ว เป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้ง่ายนักเนื่องมาจากความแตกต่างในหลายๆด้าน ด้วยคุณสมบัติที่ดีของงานกราฟิกทำให้งานกราฟิกมีบทบาทสำคัญในการลดข้อจำกัด ต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนเวลา  ประสิทธิภาพของการคิด   การบันทึกและการจำ  ประสิaทธิภาพและประสิทธิผล  

การใช้งานกราฟิกบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 ซึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้มนุษย์จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับงานกราฟิกมากขึ้น มีดังนี้          
                 1.)  ความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ :  การใช้งานกราฟิกช่วยจะทำให้ได้ข้อมูลที่สื่อสารความหมายให้เข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว 

                  2.)  ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี :  เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ทำให้ความนิยมใช้งานกราฟิกช่วยในการสื่อความหมายจึงเกิดขึ้นแพร่หลายในสื่อเกือบ ทุกประเภท

  

             3.)  จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น และความเป็นโลกไร้พรมแดน : ประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว งานกราฟิกจึงเป็นเครื่องผ่อนแรงให้การสื่อความหมาย  สามารถสื่อสารได้เข้าใจง่ายและถูกต้องในเวลาสั้น


          4)  ความแตกต่างระว่างบุคคล  : บุคคลแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านต่าง ๆ การใช้งานกราฟิกเข้าช่วยจะทำให้ง่ายต่อการสื่อความหมายได้เป็นอย่างดี

ประวัติความเป็นมาของกราฟิก

เมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักการขีดเขียน ขูด จารึกเป็นร่องรอย ให้ปรากฏเป็นหลักฐานในปัจจุบัน การออกแบบกราฟิกสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จึงเป็นการเริ่มต้นการสื่อความหมายด้วยการวาดเขียน ให้ผู้อ่านตีความหมายได้ เรียกว่า  “ Pictogram ”
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่า เมื่อล้านปีมาแล้วมนุษย์โฮโมอีเร็คทุส ( Homo Erectus ) ได้ใช้ท่าทางและสิ่งของตามธรรมชาติ ในการสื่อความหมายต่อกัน 
ยุคหิน เมื่อหมื่นกว่าปีก่อน 

5000 - 6000 ปี ก่อนคริสตกาล
3500 ปี ก่อนคริสตกาล
2000 - 3500 ปี ก่อนคริสตกาล
อียิปต์ตอนต้น
1200 ปี ก่อนคริสตกาล

ก่อนประวัติศาสตร์ บนเพิงผา จ.ลำปาง 
ประมาณ 3000 ปี ก่อน ที่ผาแต้ม จ.อุลราชธานี 
ภาพวาดกราฟิกของมนุษย์โบราณ
ออสตราโลพิเทคัส 
พิเทแคนทรอพัส 
โฮโมซาเปี้ยน 
ภาพวาดมนุษย์โบราณ

                    เมื่อประมาณแสนปีมาแล้ว   เผ่าพันธุ์ของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน หรือที่เรียกว่า  โฮโมซาเปี้ยน (Homo Sapiens) ได้ใช้สีตามธรรมชาติเขียนลายเส้นบนหน้าตาและร่างกาย  ภาพเหล่านี้ช่วยให้การสื่อความหมายง่ายและรวดเร็วขึ้น ซึ่งถือเป็นพื้นฐานในการวิวัฒนาการ มาเป็นภาษาพุดและภาษาเขียนในสมัยต่อมา  
วิวัฒนาการของอักษรจีนที่มีเค้าโครงมาจากภาพ

                    ภาพบนผนังถ้ำ   ลายเส้นตามหน้าตาและร่างกาย   ลายเส้นบนเครื่องมือ  เป็นสิ่งที่ภาษาในปัจจุบันเรียกว่า  งานกราฟิก (Graphic)  จะเห็นได้ว่า งานกราฟิกเป็นภาพและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยให้มนุษย์สื่อความหมายและถ่ายทอดประสบการณ์ได้อย่างรวด เร็วและมีประสิทธิภาพ   ดังนั้น งานกราฟิกจึงเป็นเครื่องมือคู่กับสังคมมนุษย์ตลอดมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์